วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของ Qutsource

Outsource คืออะไร
Outsource หรือ การจ้างพนักงานแบบชั่วคราวนั้นหมายถึง การว่าจ้างบริษัทหรือบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญใน เรื่องต่างๆเป็นการเฉพาะ เข้ามาทำงานนั้นๆ แทนให้ทั้งหมดหรืออาจจะเป็นแค่เพียงในบางส่วน โดยที่สำคัญคือจะต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมของทางบริษัทด้วย ซึ่งอาจจะว่าจ้างรับเป็นชิ้นๆงานหรือเซ็นสัญญาว่าจ้างกันเป็นระยะเวลาแบบราย เดือนหรือรายปีก็สามารถทำได้ตามแต่ที่จะตกลงกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ ที่รับจ้าง ซึ่งปัจจุบันระบบการทำงานในลักษณะของ outsource กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมสนใจในหมู่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กหรือที่ เรียกว่า SME จน ไปถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ประเภทข้ามชาติเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถตอบสนองและเข้าถึงความต้องการในรูปแบบการทำธุรกิจในสถานการณ์ ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
   แนวคิดของการ Outsource เกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการเช่น
  • การแข่งขันทางด้านธุรกิจและด้านการบริการแก่ลูกค้าที่มีการแข่งขันสูง
  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
  • ความล่าช้าในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน

จากสาเหตุดังกล่าวผู้บริหารองค์กรเริ่มมีการพิจารณาที่จะมอบหมายภารกิจด้าน  ทั้ง หมดหรือบางส่วนให้กับบุคคลภายนอกที่มี ความรู้ความชำนาญดีกว่าเข้ามาบริหาร โดยอยู่ภายได้การควบคุมดูแลขององค์กรนั้นๆ ทำให้องค์กรนั้นๆสามารถปรับปรุงจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นๆให้สามารถแข่งขัน ในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อดีของการจ้าง Outsource ในการทำธุรกิจ
ธุรกิจจะสมบูรณ์แบบได้ ผู้ประกอบการไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ลงมือเองทั้งหมด การจ้างงานแบบ outsource ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ในเวลาที่รวด เร็วยิ่งขึ้น
การ จัดตั้งบริษัทและดำเนินกิจการทำธุรกิจนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องสร้างแผนกหรือฝ่ายต่างๆขึ้นมารองรับการทำงานของ บริษัทเป็นจำนวนที่ค่อนข้างจะมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดตั้งแผนกบัญชี ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ฝ่ายดูแลทำความสะอาดอาคารและสถานที่ ฝ่านจัดส่งสินค้า ฝ่ายดูแลข้อมูลสารสนเทศ ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งแต่ละฝ่ายที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดตั้งนั้นมีต้นทุนการดำเนินงานเฉพาะ ตัวที่ค่อนข้างจะสูงและอาจจะไม่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้การจ้างงานแบบ outsource หรือ การจ้างลูกจ้างชั่วคราวนั้น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้

ประโยชน์ของการทำธุรกิจด้วยการใช้ outsource มีสาระสำคัญที่ดังต่อไปนี้
1. ต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อยลง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบการทำงานในลักษณะของ outsource ได้ รับความนิยมเป็นอย่างสูงก็มีสาเหตุหลักมาจากความสามารถในการประหยัดต้น ทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทนั่นเอง เพราะการที่ผู้ประกอบการว่าจ้างบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องดัง กล่าวจากภายนอกมาเป็นผู้ดำเนินงานในเรื่องต่างๆแทนให้จะช่วยให้ท่านสามารถ ประหยัดงบประมาณในส่วนดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับการจัดตั้งแผนกขึ้นมาใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ที่จะต้องเสียทั้งค่าจ้างพนักงาน รวมถึงต้องมีสวัสดิการต่างๆให้ด้วย
2. ตัดตอนโครงสร้างและการดูแลบริหาร
ธุรกิจขนาดกลางจะชื่นชอบประโยชน์ของการว่าจ้างในลักษณะ outsource ใน ข้อนี้ค่อนข้างมาก เพราะการว่าจ้างพนักงานชั่วคราวจะช่วยลดภาระการดูแลและการบริหารงานของผู้ ประกอบการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากภาระกิจหลักที่ท่านต้องการได้ถูกสั่งและทำความเข้าใจในเรื่องของ รายละเอียดกับผู้รับงานไปแล้วตั้งแต่ตอนต้นก่อนที่จะเข้ามาทำงาน ผู้ประกอบการจึงเพียงแค่คอยติดตามและประเมินผลเท่านั้น หากไม่เป็นไปตามเป้าก็สามารถว่าจ้างผู้รับงานรายอื่นให้เข้ามาทำหน้าที่แทน ได้ จึงมีความได้เปรียบและยืดหยุ่นกว่าการว่าจ้างพนักงานประจำมากซึ่งท่านจะต้อง คอยดูแลเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนหากมีข้อผิดพลาดก็ต้องลงมาแก้ไขด้วยตนเองอีก ต่างหาก
3. ไม่ต้องเสียเวลาฝึกพนักงาน
หาก ผู้ประกอบการจัดตั้งแผนกหรือดำเนินการเกี่ยวกับเรื่อง ต่างๆด้วยตนเอง ทั้งหมด แน่นอนว่าผู้ประกอบการจะต้องเสียเวลาไปกับการฝึกพนักงานให้ทำงานตามที่ท่าน ต้องการใหม่ทั้งหมดเหมือนกับการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่เลยทีเดียว แต่ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นหากผู้ประกอบการใช้ระบบ outsource ซึ่ง ผู้ที่มารับงานถูกจัดว่าเป็นมืออาชีพในเรื่องต่างเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว จึงสามารถลดระยะเวลาที่ต้องเสียไปกับการทดลองและฝึกงานลงไปได้อย่างมาก ซึ่งผู้ประกอบการทุกคนต่างรู้ดีว่าเรื่องของเวลามีความสำคัญมากขนาดไหนในการ ทำธุรกิจ
4. ได้พนักงานมืออาชีพ
บุคคลหรือบริษัทที่มารับงานในลักษณะของ outsource ต่อ จากผู้ประกอบการ จะมีลักษณะของความเป็นมืออาชีพติดตัวเป็นทุนเดิมมาอยู่ แล้ว (ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกของผู้ประกอบการด้วย) พวกเขาจะมี know – how และ รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำเพื่อตอบสนองกับความต้องการทางธุรกิจของท่าน และในบางครั้งพวกเขายังอาจแนะนำเทคนิคดีๆที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ของบริษัทผู้ประกอบการได้อีกด้วย
5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท
การ ที่ผู้ประกอบการว่าจ้างพนักงานหรือบริษัทอื่นๆให้เข้า มาทำหน้าที่ดูแล ในเรื่องต่างๆแทนให้นั้น หากผู้ประกอบการเลือกที่จะว่าจ้างพนักงานและบริษัทที่มีความเก่งกาจหรือความ ชำนาญมากเป็นพิเศษก็จะส่งผลให้ศักยภาพโดยรวมของธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย อันเกิดจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเลือกใช้ outsource ที่ถูกวิธีนั่นเอง จัดได้ว่าเป็นการยกระดับบริษัทไปอีกหนึ่งขั้นเลยก็ว่าได้
6. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า
ใน หลายๆครั้งที่ผู้ประกอบการต้องออกไปเจรจาทำธุรกิจกับ ลูกค้า สิ่งหนึ่งที่ลูกค้ามักจะหยิบยกนำขึ้นมาใช้ในการพิจารณาก็คือในส่วนของ ประสิทธิภาพและเครดิตความน่าเชื่อถือของบริษัทท่าน ซึ่งหากบริษัทของผู้ประกอบการมีการร่วมงานในลักษณะของ outsource กับ บุคคลหรือบริษัทที่มีชื่อเสียงแล้วละก็จะเป็นการช่วยเติมเต็มในส่วนของ ทัศนคติเรื่องประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจของ ผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี

ความหมายของ JIT

JIT  ระบบทันเวลาพอดี
เป็นการส่งมอบ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการ มาถึงผู้ใช้ในเวลาที่ต้องการ และจำนวนเท่าที่ต้องการใช้เท่านั้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้นำเอาระบบ JIT มาใช้จนทำให้สามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังเป็นศูนย์ได้
ระบบทันเวลาพอดี อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น ระบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)  ระบบการผลิตที่ไม่มีสินค้าคงคลัง (Stockless Production)  ระบบสั่งวัสดุเมื่อต้องการ (Material as needed)

                  
ประโยชน์ของ JIT
1.       ช่วยลดสินค้าคงคลัง ทำให้ลดขนาดพื้นที่ในการเก็บ
2.       สามารถกำหนดเวลาในการรับของได้
3.       ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง การหยิบ การยกขน
4.       ลดเวลาในการจัดเรียง การจัดเก็บสินค้า
  ลักษณะของระบบ JIT
1.                        การไหลของวัสดุ เป็นแบบดึง(Pull Method)
หมายถึง การผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการ เมื่อผู้ผลิตได้รับคำสั่งผลิตก็จะทำการเรียก(ดึง)สินค้าจาก Supplier  มาทำการผลิต เหมาะกับการผลิตที่มีลักษณะสินค้าเหมือนๆกัน เนื่องจากสามารถควบคุมสินค้าคงคลังได้ง่าย
2.       สั่งซื้อจำนวนน้อยในแต่ละครั้ง (Small Lot Size Ordering)
หมายถึง การกำหนดการสั่งซื้อวัสดุเท่ากับปริมาณที่จะใช้ในการผลิต ทำให้มีวัสดุพอดีไม่ต้องเหลือเก็บ แต่ก็มีข้อเสียเช่น หากเป็นการผลิตที่ไม่ใช้วัสดุนั้นเป็นประจำจะทำให้การสั่งซื้อมีปริมาณน้อย มีการสั่งซื้อย่อยบ่อยๆ ย่อมเพิ่มต้นทุนการสั่งซื้อ และต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มในวัสดุนั้น หากเป็นการผลิตที่ต้องมีการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยๆครั้ง  ก็อาจทำให้เสียเวลามากขึ้นได้
3.       การผลิตแบบอัตโนมัติ (Automated Production)
การผลิตแบบอัตโนมัติมีความสัมพันธ์กับการจัดส่งแบบทันเวลาพอดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ดังนั้นการกำหนดแผนงาน เวลา ปริมาณการใช้วัสดุต้องสัมพันธ์กันและต้องการความแม่นยำ
4.       การปฎิบัติงานแบบคงที่ (Workstation Stability)
การวางแผนการทำงานที่ดี ทำให้จุดการทำงานหรือสถานีการทำงานได้รับงานในลักษณะคงที่ในแต่ละวัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถลดเวลาในการผลิต
5.       ความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งที่ดี (Good Relation)
โดยปกติการจัดส่งแบบทันเวลาพอดี (JIT) มักไม่เปลี่ยนตัวคู่ค้า หรือผู้จัดส่งบ่อยๆ เพื่อให้การจัดส่งเป็นไปอย่างราบรื่น และไว้ใจได้

ความหมายของ EDI

ความหมายของ EDI
                Electronic Data Interchange (EDI) คือ การติดต่อสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กับคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยผู้ที่กระทำการค้าในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยต้องมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
                EDI ได้พัฒนาขึ้น และ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้นำด้านธุรกิจทุกวันนี้ เนื่องมาจากรูปแบบ และ การยอมรับอย่างกว้างขวาง EDI ช่วยในการเปลี่ยนจากการใช้แรงงาน และ รายการค้าที่ต้องใช้กระดาษ เพื่อให้มีต้นทุนต่ำ

ส่วนประกอบสำคัญของระบบ EDI

1.             Hardware (Computer)
2.             Telecommunication Networks
3.             Communication Software and Translation Software
1.              Hardware
Hardware หมายรวมถึงคอมพิวเตอร์ทุกประเภท และ อุปกรณ์ข้างเคียงของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการติดตั้ง EDI Communication โดยจะเป็นตัวช่วยในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคู่การค้า (Trading Partners)
ระบบ EDI สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่นเมนเฟรม หรือ Personal Computer(PC)
2.              Telecommunication Networks
Telecommunication Networks จะใช้สายโทรศัพท์ (Telephone Line) ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ส่ง และ ผู้รับ โดยอาจติดต่อกันผ่านทางดาวเทียม
3.              Communication Software and Translation Software
Communication Software and Translation Software ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล และ รับข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์คนหนึ่ง ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อื่น เขาต้องมี Communication Software และ Translation Software
Translation Software จะช่วยในการใส่รหัส (encoded) และ ถอดรหัส (decoded) ข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ หมายความว่าต้องมีมาตรฐานในการส่งผ่านข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ของบริษัท และ คู่การค้าสามารถเข้าใจได้

การติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบ EDI

                EDI  หรือ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์เริ่มมีมาตั้งแต่ปี ค..1960 แต่ในช่วงแรกนั้นการใช้งานจะจำกัดอยู่เพียงบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเองเท่านั้น เนื่องจากมีราคาสูงมาก ในระบบส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อระหว่างคู่การค้า บริษัทในเครือ หรือ ผู้ผลิตกับผู้ขายวัตถุดิบ โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เครือข่ายที่ว่านี้เราจะเรียกว่า VAN(Value Added Network) หรือ เครือข่ายเสริมคุณค่าทางธุรกิจ เครือข่าย VAN ที่สร้างขึ้นมาเองนี้จะมีรูปแบบการส่งข้อมูลที่แน่นอน มีความเชื่อถือได้ และ มีความซับซ้อนของการส่งข้อมูลมากกว่าระบบที่ใช้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
                ระบบ EDI จะติดตั้ง หรือ ให้บริการโดยบริษัทที่ให้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าผู้ให้บริการระบบ EDI (EDI Service Provider) โดยจะให้บริการดูแลรักษาเครือข่าย VAN พร้อมทั้งจัดตั้งกล่องรับอีเมล์สำหรับบริษัทแต่ละราย ซึ่งกล่องรับอีเมล์นี้จะเป็นจุดที่บริษัทส่งผ่านข้อมูลถึงกันในรูปแบบข้อความ EDI โดยแต่ละบริษัทต้องตกลงกันไว้ก่อนถึงรายละเอียดของข้อมูล หรือ แบบฟอร์มที่จัดส่ง ซึ่งข้อมูล หรือ แบบฟอร์มจะส่งผ่านเครือข่าย VAN ในรูปของอีเมล์ โดยแต่ละบริษัทจะต้องมีซอฟต์แวร์ที่คอยจัดการแปลงอีเมล์ให้เป็นข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อนำไปประมวลผล และ จัดเก็บลงในระบบฐานข้อมูลของแต่ละบริษัทอีกทีหนึ่ง




ตารางเปรียบเทียบระบบ EDI บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกับบนเครือข่าย VAN

จุดเปรียบเทียบ
อินเตอร์เน็ต
Value-Added Network
การรับส่งข้อความใน mailbox
ทำไม่ได้
ทำได้
ความปลอดภัยของเครือข่าย
ทำไม่ได้
ทำได้
ความเชื่อถือ หรือ มั่นใจได้ของเครือข่ายในการรับส่งข้อมูล
ไม่มี
มี
ความเชื่อถือได้ของผู้ให้บริการระบบ (Internet Service Provider, EDI Service Provider)
จำกัด
มี
การให้บริการลูกค้า และ การดูแลระบบ
จำกัด
มี
การทำรายการแบบตอบโต้ (Interactive)
ทำได้
มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
การใช้ระบบเพื่อหาข้อมูลอื่น
มี
จำกัด หรือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
การจัดตั้งระบบเพื่อเป็นศูนย์บริการให้ข้อมูลเพิ่มเติม
เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม


แหล่งที่มา           http://www.wyle.com/vas/main426

ความหมายของ HRM

                                  Human Resource Management
                 ธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้ และจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่คน ทุกอย่างล้วนมาจากคน เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน ผมถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญล้ำค่าอันเป็นหัวใจขององค์กรทุกองค์กร เราจึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามารถ และมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในองค์กรให้มากๆ จึงจะสามารถนำองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์
(วิจักษณ์ วรบัณฑิตย์ 2546: 108)
                             

               ทบทวน Human Resource Management
                 กิจกรรมทุกประเภทที่ช่วยส่งเสริมบุคลากรในองค์กรให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
                             
              Human Resource Management
                เป็นกระบวนการวางแผนและกำหนดวิธีการบริหารเกี่ยวกับตัวบุคลากร/พนักงาน ที่ปฏิบัติงานในองค์กร โดยสรรหา/คัดเลือกให้ได้บุคคลที่ตรงกับคุณสมบัติและมีสมรรถนะที่ต้องการรวม ถึงมีวิธีการธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้ด้วยการจ่ายค่าตอบแทนซึ่งประกอบ ด้วยค่าจ้าง เงินเดือน สวัสดิการทั้งที่เป็นตัวเงิน / มิใช่ตัวเงิน และผลประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ ที่สำคัญต้องพัฒนาให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะ ให้มีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดี    
            
              การจัดการทรัพยากรมนุษย์
เน้นการจัดการเกี่ยวกับคน
เป็นการจัดการให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
รักษาแรงงานที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพไว้
ทำให้พนักงานในองค์การทำงานอย่างมีความสุข
ทำให้การทำงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
   
                               
              กิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การกำหนดนโยบายทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning : HRP)
การสรรหา (Recruitment)
การคัดเลือก (Selection)
การศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนา (Training and Development)
การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น (Compensation and fringe benefits)
ความปลอดภัยและสุขภาพ (Safety and Health)
พนักงานและชุมชนสัมพันธ์ (Employee Relation)
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)



 
               ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
สามารถวางแผนจัดหาทรัพยากรมนุษย์ให้เพียงพอและสอดคล้องกับแผนงานขององค์การ
สามารถชักจูงให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถสนใจสมัครเข้าทำงานกับองค์การ
สามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
สามารถฝึกฝนและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มา  http://www.sundae.co.th/article/?cmd=article&id=50

ความหมารของ CRM

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship management หรือ CRM)
ในอดีตความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่ได้มีการจัดการอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ อาจเรียกได้ว่าความสัมพันธ์นำการค้า เพราะพ่อค้าในอดีตที่ดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวยังไม่ได้โลกาภิวัตน์เหมือนในปัจจุบัน การค้าขายในเมืองหลวงก็ไม่ต่างจากในชนบททุกวันนี้ ขอบเขตในการทำธุรกิจเป็นไปเพื่อการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนที่มีพื้นที่จำกัด อาจจะเป็นหมู่บ้าน    ตำบล อำเภอ เต็มที่ก็จะเป็นระดับจังหวัด ธุรกิจการค้าที่จะดำเนินการข้ามจังหวัด หรือขายกันทั้งประเทศหาได้ยากมาก ความสัมพันธ์ในขณะนั้นเป็นความสัมพันธ์แบบเอื้ออาทร จริงใจ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และจากความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงนำมาสู่การค้าขายในเวลาต่อมา ความสัมพันธ์ในลักษณะอย่างนี้มีความยั่งยืนและยาวนาน ผิดกับความสัมพันธ์ในปัจจุบัน ซึ่งดูจะเป็นไปเพื่อการค้ามากเกินไปหน่อย หรือไม่ก็คงเป็นเพราะวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปยึดถือและนิยมในวัตถุกันมากนั่นเอง  อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ได้อุบัติขึ้นแล้ว และได้บัญญัติเป็นศัพท์ใหม่คือ Customer Relationship Management หรือ CRM   ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่นักบริหารทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และเกิดความสนใจ ว่ามันคืออะไรจะนำมาปรับใช้ในองค์การได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าจะเกิดประโยชน์หรือไม่   
                ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management :CRM )       ความหมาย       ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM) เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว กับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้า หรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด
การจัดการลูกค้าสัมพันธ์   (Customer relationship management หรือ CRM)
ความสำคัญของการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มความสัมพันธ์อันดีให้กับลูกค้า เพิ่มรายได้ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายในการแสวงหาลูกค้า และ เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ( Customer Satisfaction ) โดยการสร้างกระบวนการทำงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าจำนวนผู้ประกอบการ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน สามารถนำแนวทางการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เช่น แนวทางที่สำคัญในการจัดการระบบการบริหารงานและสร้างมาตรฐานการทำงานในบริษัท เช่น การรวบรวมเกี่ยวกับข้อมูลของลูกค้า , การจัดการเกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารและการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสนองตอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

CRM คืออะไร ซีอาร์เอ็ม คือ กลยุทธ์การบริหารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า


             CRM   ย่อมาจาก Customer Relationship Management คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันธ์กับลูกค้าได้นั้น เราก็ต้องอาศัยการสังเกตุพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้
    1.Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
    2.Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
    3.Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
    4.Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
CRM มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการนำซอฟต์แวร์มาใช้ในการพัฒนาเพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น Web Site เป็นต้น CRM software  ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า ซึ่ง CRM software มักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
    1.Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น
    2.Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการเพิ่มเติมได้
    3.Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล (Database ) ลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจ
1.  CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น
2.  CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม กับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น




ข้อมูลอ้างอิง ข้อมูลอ้างอิง
http://crm.in.th
http://marketingthai.blogspot.com
http://www.crmtothai.com