วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของ JIT

JIT  ระบบทันเวลาพอดี
เป็นการส่งมอบ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการ มาถึงผู้ใช้ในเวลาที่ต้องการ และจำนวนเท่าที่ต้องการใช้เท่านั้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้นำเอาระบบ JIT มาใช้จนทำให้สามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังเป็นศูนย์ได้
ระบบทันเวลาพอดี อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น ระบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)  ระบบการผลิตที่ไม่มีสินค้าคงคลัง (Stockless Production)  ระบบสั่งวัสดุเมื่อต้องการ (Material as needed)

                  
ประโยชน์ของ JIT
1.       ช่วยลดสินค้าคงคลัง ทำให้ลดขนาดพื้นที่ในการเก็บ
2.       สามารถกำหนดเวลาในการรับของได้
3.       ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง การหยิบ การยกขน
4.       ลดเวลาในการจัดเรียง การจัดเก็บสินค้า
  ลักษณะของระบบ JIT
1.                        การไหลของวัสดุ เป็นแบบดึง(Pull Method)
หมายถึง การผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการ เมื่อผู้ผลิตได้รับคำสั่งผลิตก็จะทำการเรียก(ดึง)สินค้าจาก Supplier  มาทำการผลิต เหมาะกับการผลิตที่มีลักษณะสินค้าเหมือนๆกัน เนื่องจากสามารถควบคุมสินค้าคงคลังได้ง่าย
2.       สั่งซื้อจำนวนน้อยในแต่ละครั้ง (Small Lot Size Ordering)
หมายถึง การกำหนดการสั่งซื้อวัสดุเท่ากับปริมาณที่จะใช้ในการผลิต ทำให้มีวัสดุพอดีไม่ต้องเหลือเก็บ แต่ก็มีข้อเสียเช่น หากเป็นการผลิตที่ไม่ใช้วัสดุนั้นเป็นประจำจะทำให้การสั่งซื้อมีปริมาณน้อย มีการสั่งซื้อย่อยบ่อยๆ ย่อมเพิ่มต้นทุนการสั่งซื้อ และต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มในวัสดุนั้น หากเป็นการผลิตที่ต้องมีการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยๆครั้ง  ก็อาจทำให้เสียเวลามากขึ้นได้
3.       การผลิตแบบอัตโนมัติ (Automated Production)
การผลิตแบบอัตโนมัติมีความสัมพันธ์กับการจัดส่งแบบทันเวลาพอดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ดังนั้นการกำหนดแผนงาน เวลา ปริมาณการใช้วัสดุต้องสัมพันธ์กันและต้องการความแม่นยำ
4.       การปฎิบัติงานแบบคงที่ (Workstation Stability)
การวางแผนการทำงานที่ดี ทำให้จุดการทำงานหรือสถานีการทำงานได้รับงานในลักษณะคงที่ในแต่ละวัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถลดเวลาในการผลิต
5.       ความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งที่ดี (Good Relation)
โดยปกติการจัดส่งแบบทันเวลาพอดี (JIT) มักไม่เปลี่ยนตัวคู่ค้า หรือผู้จัดส่งบ่อยๆ เพื่อให้การจัดส่งเป็นไปอย่างราบรื่น และไว้ใจได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น